กลับมาพบกันกับ UPH เรื่องน่ารู้ นำเสนอสาระน่ารู้ทางการแพทย์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเฉพาะทางของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ โดยครั้งนี้ ขอนำเสนอ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Andropause Testosterone deficiency syndrome) หรือที่เรียกว่า “ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน “ (Testosterone) เป็นฮอร์โมนสำคัญที่แสดงความเป็นชาย เช่น ทำให้มีกล้ามเนื้อ และกระดูกที่แข็งแรง มีขน ผม เครา ที่ดกดำ จะแสดงลักษณะของอวัยวะเพศชายที่สมบูรณ์ ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกความเป็นชาย
โดยอาการของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ร้อยละ 95 ผลิตจากอัณฑะทั้ง 2 ข้าง อีกร้อยละ 5 ผลิตจากต่อมหมวกไต (Adrenal Glands) ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมองให้ผลิตฮอร์โมนได้ปกติ อาการของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เกิดขึ้นเมื่อ อัณฑะ หรือต้อมใต้สมอง ผิดปกติ
ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว จะต้องทำการวินิจฉัย โรคสองส่วน ดังนี้
1. เริ่มจากทำแบบสอบถาม เพื่อคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
2. การตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชายด้วยการ เจาะเลือด จากนั้น จะวินิจฉัยการรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามอาการของผู้ป่วย
ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
* ไม่กระฉับกระเฉง
* ขาดความมั่นใจ
* หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน
* นอนไม่หลับ
* ซึมเศร้า
* อ้วนลงพุง รอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว
* รู้สึก ร้อนวูบวาม
* ไม่มีความรู้สึกทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
การรักษา >> เสริมสร้างสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ชาย เพิ่มความรูสึกทางอารมณ์ มีพลัง กระฉับกระเฉง มีความสนใจในเรื่องทางเพศ โดยวิธีการรักษา ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ ควบการรับประทานอาหารประเภท แป้ง ไขมัน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2. วิธีทางการแพทย์ >> ให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายที่จำเป็นต่อสรีระการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การคงสภาวะกระดูก กล้ามเนื้ออารมณ์ ความต้องการทางเพศ สมรรถภาพทางเพศ รวมถึงความรู้สึกของการดำรงชีวิต และตอบสนองทางเพศ หรือการใช้ยาฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ ยาทาผิวหนัง ทาลงบนผิวหนังที่แห้ง สะอาด บริเวณ หัวไหล่ ต้นแขน หน้าท้อง หรือ ฉีดยา เข้ากล้ามเนื้อ
ผู้ป่วยที่มีอาการข้างต้น หรือต้องการปรึกษาแพทย์ สามารถติดต่อพบแพทย์ คลินิกศัลยกรรมทางเดินระบบปัสสาวะ ได้ทุกวันอังคาร ในวันทำการ เวลา 08.00-16.00 น. แผนกผู้ป่วยนอก 1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ สอบถาม 0 5446 6666 ต่อ 7000 , 7226 หรือ 0 5446 6758 www.upmed.up.ac.th Facebook : โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์
-----------------------------------
#UPH
#โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา
#เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคุณภาพแห่งล้านนาตะวันออก
#เพื่อสุขภาวะที่ดีที่สุดของทุกคน
#โรงพยาบาลที่คุณเข้าถึงได้
#SDG3
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 0 5446 6758 , 0 5446 6666 ต่อ 7000 , 7173 , 7226
Facebook : โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์
Website : www.upmed.up.ac.th
แสดงความคิดเห็น