การกดจุดบำบัด
การกดจุด เป็นศาสตร์ที่มีกำเนิดมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลา 4,000 ปี ซึ่งโดยหลักการร่างการของเรามีจุดลมปราณเป็นร้อย ๆ จุดเชื่อมกันเป็นสาย มีผลสะท้อนถึงพลังในร่างกาย เส้นประสาทการไหลเวียนของเลือด การทำงานของของอวัยวะภายในและต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ ในร่างกาย การกดจุด หมายถึง การใช้นิ้วมือกด ซึ่งตรงกับภาษาว่า Finger Pressure คือ การกดสัมผัสด้วยนิ้วมือ ไม่ใช่การนวด ซึ่งการนวดหมายถึงการใช้นิ้วทั้ง 5 รวมทั้งอุ้งมือ ฝ่ามือ ถูคลึงตามร่างกาย และโดยทั่วไปการนวดมักต้องทายาหรือทาครีมนวดตัว แต่การกดสัมผัสไม่ต้องทายาใด ๆ
ประวัติย่อของการแพทย์แผนจีน
การแพทย์แผนจีนเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการศึกษา ละสั่งสมภูมิปัญญาของชาวจีนเป็นระยะเวลานับพันผี ซึ่งศาสตร์การแพทย์จีนนั้นครอบคลุมถึงการตรวจวินิจฉัยจากกลุ่มอาการของโรค ว่าด้วยการรักษาโดยใช้สมุนไพรจีน ฝังเข็ม รมยา การนวดแบบแพทยืแผนจีน (ทุยหนา) และหลักการป้องกัน นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากมายต่อการรักษาสุขภาพ การฝังเข็ม คือ
การใช้เข็มแทงลงไปบนจุดฝังตามร่างกาย ขณะที่เข็มผ่านผิวหนังจะมีอาการเจ็บอยู่บ้าง อาจจะอาการปวดตื้อ ๆ หรือปวดหน่วง ๆ หรือปวดร้าวไปตามทางเดินของเส้นประสาทลมปราณ โดยเข็มที่ใช้เป็นเข็มใหม่ ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นและจะไม่นำกลับมาใช้อีก ผลที่ได้รับจากการฝังเข็ม
- ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุล
- กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย
- กระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาท เช่น เอ็นโดฟิน ที่มีฤทธิ์ลดอาการปวด
- กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน เช่น ACTH และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
- ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม
- กลุ่มอาการปวด เช่น ปวดคอ ปวดหัวไหล่ ข้อศอก กระดูกสันหลัง เอว การปวดของเส้นประสาทสะโพก หัวเข่า และโรคปวดเรื้องรังต่าง ๆ
- อัมพฤกษ์ อัมพาต และผลข้างเคียงหลังจากการป่วยด้วยโรคทางสมอง เช่น เส้นโลหิตในสมองแตก ตีบ หรือตัน
- อัมพาตใบหนา ปวดเส้นประสาทบนใบหน้า
- ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
- โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด
- โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
- โรคระบบประสาทต่าง ๆ เช่นอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน (ระยะเริ่มต้น)
- โรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน หูดับ หูอื้อ
- โรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพราอาหารอักเสบ
- ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาผิดปกติ
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
- โรคทางผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า ผมร่วง ผื่นคันต่าง ๆ
- ลดความอ้วน
- โรคต่าง ๆ ที่แพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
ข้อแนะนำในการฝังเข็ม
- รับประทานอาหารตามปกติก่อนฝังเข็มทุกครั้ง
- พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
- ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป ควรสวมเสื้อแขนสั้น สวมกางเกงหลวม ๆ และสามารถรูดขึ้นได้เหนือเข่า
- การฝังเข็มใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
ข้อควรระวัง
- ในขณะฝังเข็มไม่ควรขยับเขยื้อนร่างกาย
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
- สตรีมีครรภ์
- โรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
- โรคเลือดที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวเลือด
การครอบแก้ว
การครอบแก้ว คือ วธีการรักษาตามตำรับแพทย์แผนโบราณซึ่งใช้แก้วครอบลงบนผิว จากนั้นจึงลดความดันภายใน โดยการใช้ความร้อนหรือการดูดอากาศออก จนผิวหนังและกล้ามเนื้อถูกดูดเข้าไปในแก้ว แก้วอาจถูกครอบนานประมาณ 5-10 นาที เมื่อเอาแก้วที่ครอบออกผิวจะแดงซ้ำ นั่นคือการทำให้เลือดคั่งเป็นการรักษาโรค และแม้ว่าผิวหนังบริเวณที่ถูกครอบแก้วจะมีสีน่ากลัว แต่ก็ไม่ได้เจ็บอย่างที่เห็น และรอยซ้ำจากการครอบแก้วสามารถหายได้เองภายใน 3-10 วัน ครอบแก้วทำอย่างไร
ในการรักษาโดยการครอบแก้วแพทย์จะเป็ฯผู้กำหนดว่า จะใช้วิธีใดจึงจะเหมาะสมซึ่งอาจยกตัวอย่างการคอบแก้วได้ดังนี้
- การครอบแก้ว (หลิวก้วน)
- การวิ่งแก้ว (โจ่วก้วน)
- แก้วกระพริบ (ส่านก้วน)
การครอบแก้วรักษาโรคได้อย่างไร
ตามตำราจีนเชื่อกันว่าในร่างกายเรามีพลังซี่ (Qi) เมื่อยามเจ็บป่วย เส้นลมปราณ ซึ่งเป็นท่อน้ำเลี้ยงของซี่และเลือดที่มีเครือข่ายกระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกายจะขาดความสมดุล เช่น เส้นลมปราณอุดตันมีผลทำให้ซี่และเลือดไหลเวียนไม่สะดวกจนเกิดความเจ็บป่วยขึ้น ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการดำเนินชีวิตและพิษจากภายในภายนอก
ประโยชน์จากการครอบแก้ว
การครอบแก้วมีสรรพคุณเพื่ออุ่นกระตุ้น การไหลเวียนของเลือดและลมปราณ ขจัดความเย็นขึ้นบรรเทาอาการปวดบวมในทางคลินิกส่วนใหญ่ จะจะใช้กลุ่มปี้เจิ้ง เช่น ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดขา นอกจากนี้ยังใช้กลุ่มโรคทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้องอาเจียนถ่ายเหลว รวมถึงโรคของปอด เช่น หอบหืด เป็นต้น
โรคต่างๆ ที่สามารถรักษาด้วยการครอบแก้ว
- กลุ่มอาการปวด เช่น ปวดคอ ปวดหัวไหล่ ข้อศอก กระดูกสันหลัง เอว การปวดของเส้นประสาทสะโพก หัวเข่า และโรคปวดเรื้องรังต่าง ๆ
- ไหล่ติด
- ภูมิแพ้
- นอนไม่หลับ
- สิว
- ลดความอ้วน
- โรคต่าง ๆ ที่แพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
สีของการครอบแก้วบอกอะไร
- สีม่วงคล้ำ : เลือดคลั่ง, ความเย็นประคบ
- สีม่วงปนจุดจ้ำเลือด : การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก
- จุดจ้ำเลือดไม่สม่ำเสมอ : ลมขึ้น
- สีแดงสด, บริเวณนั้นร้อน : หยางแกร่ง, ร้อนแกร่ง, อาการเกิน
- สีแดงคล้ำ : ไขมันในเลือดสูง, ไขมันในเลือดข้น
- จ้ำเลือดหรือแผลพุพองสีเทาหรือสีซีด : เย็นพร่อง, ความชื้น
- ผิวหนังเกิดอาการคัน : ลม, ความชื้น
- ตุ่มน้ำ, บวมน้ำ, เปียกชื้น : ความเย็น, ความชื้น
- ในแก้วมีไอน้ำ : ความเย็น, ความชื้น
- ม่วงแดง, แดงคล้ำ : หยินแกร่ง, ความเย็น, เลือดคลั่ง
- แดงระเรื่อ, แดงซีด : กลุ่มอาการพร่อง
- บริเวณที่ถูกครอบแก้วฟื้นฟูได้เร็ว : อาการดีขึ้น
- ลิ้นบอกโรคตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ลิ้นปกติ
การดูลิ้นเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคจชตามศาสตร์แพทย์แผนจีน โดนจะดูจากความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะภายใน เมื่ออวัยวะภายใน เมื่ออวัยวะภายในผิดปกติจะสะท้อนออกมาให้เห็นบนลิ้น ภาพความสัมพันธ์ระหว่างลิ้นกับอวัยวะภายใน
- โคนลิ้น ไต (กระเพาะปัสสาวะ)
- กลางลิ้น ม้าม (กระเพาะอาหาร)
- ข้างลิ้น ตับ (ถุงน้ำดี)
- ปลายลิ้น หัวใจ (ปอด)
การดูสีลิ้น
- ลิ้นสีแดงอ่อน มักพบในคนปกติ หรือป่วยไม่รุนแรง
- สิ้นสีขาวซีด พลัง(ซี่) และเลือดพร่องหรือยางพร่อง มักเป็นโรคที่ร่างกายอ่อนแอ เช่น โลหิตจาง
- ลิ้นสีแดง, สีแดงเข้ม มีความร้อนอยู่ในร่างกายบอกถึงความร้อนแกร่ง, หยินพร่องเกิดไฟมักเกิดจากการเป็นไข้ตัวร้อน โรคติดเชื้อ การสูญเสียของเหลวในร่างกาย